โรค Burnout syndrome

02 พ.ย. 2565

⚠#ภาวะหมดไฟการทำงาน ไม่ใช่เรื่องล้อเล่น มาเช็กระยะความรู้สึก
ตัวเองสักนิด ก่อนจะกลายเป็นโรค 𝗕𝘂𝗿𝗻𝗼𝘂𝘁 𝗦𝘆𝗻𝗱𝗿𝗼𝗺𝗲! 
▶1. ระยะฮันนีมูน (the honeymoon) เป็นช่วงเริ่มงาน มีความตั้งใจเต็มที่ พยายามเรียนรู้ ปรับตัวกับเพื่อนร่วมงาน และองค์กร
▶2. ระยะรู้สึกตัว (the awakening) เมื่อเวลาผ่านไป เริ่มรู้สึกว่า
ชีวิตดำเนินอย่างผิดพลาด และไม่สามารถจัดการได้ ทำให้เกิด
ความไม่สบายใจ และเหนื่อยล้า
▶3. ระยะไฟตก (Brownout) รู้สึกเหนื่อยล้าเรื้อรัง และหงุดหงิดง่าย
อย่างชัดเจน อาจมีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อหนีความขับข้องใจ เช่น ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ดื่มสุรา ความสามารถในการทำงานเริ่มลดลง 
 

4. ระยะหมดไฟเต็มที่ (Full scale of burnout) หากช่วงไฟตก
ไม่ได้รับการแก้ไข จะเริ่มรู้สึกสิ้นหวัง มีความรู้สึกล้มเหลว สูญเสียความมั่นใจ มีอาการของภาวะหมดไฟเต็มที่
▶5. ระยะฟื้นตัว (The phoenix phenomenon) หากมีโอกาส
ได้ผ่อนคลาย และพักผ่อนอย่างเต็มที่ ฮีลใจตัวเองได้ตรงจุด
จะสามารถกลับมาสู้ได้อีกครั้ง 
แต่หากไม่ได้รับการฟื้นตัว อาจเสี่ยงต่อ โรค 𝗕𝘂𝗿𝗻𝗼𝘂𝘁 𝗦𝘆𝗻𝗱𝗿𝗼𝗺𝗲! 
นำไปสู่โรคซึมเศร้า หรือโรคอื่นๆ ที่ส่งผลเสียกับสุขภาพกายและสุขภาพใจระยะยาว
✌️【โหมงานหนัก เครียดมากไป อย่าลืมดูแลสุขภาพกาย
และสุขภาพใจให้แข็งแรงด้วยนะคะ】
ที่มา : องค์การอนามัยโลก