ค้นหา
คอนโดใกล้รถไฟฟ้า
คอนโดใกล้นิคม
คอนโดพร้อมอยู่
คอนโดไม่เกิน 1 ล้าน
คอนโดมิเนียม
บ้าน
ทาวน์โฮม
อาคารพาณิชย์
โปรโมชัน
แบรนด์เสนา
ความยั่งยืน
โครงการพร้อมอยู่
โครงการทั้งหมด
ความคืบหน้าโครงการ
โปรโมชัน
จองยูนิตออนไลน์
บริการหลังการขาย
SENA 360 Application
แบรนด์เสนา
MADE FROM HER
SENA Solar
geo fit+
เกี่ยวกับเสนา
โครงสร้างองค์กร
เสนาเพื่อสังคม
SENA FAMILY
SENA CLUB
SENA Privileges
SENA HANKYU HANSHIN OWNERS CLUB
ธุรกิจในเครือ
เสนา โซลาร์ เอนเนอร์ยี่
เสนาเฮ้าส์ พหลโยธิน 30
สนามกอล์ฟ พัทยา คันทรี คลับ
เสนาเฟสท์
เงินสดใจดี
เมโทรบ็อกซ์
LivNex
ข่าวสารกิจกรรม
บทความ
พันธมิตร
นักลงทุนสัมพันธ์
ร่วมงานกับเสนา
ติดต่อเรา
MADE FROM HER
#คิดละเอียดกว่าก็อยู่สบายกว่า
คอนโดมิเนียม
1775
คอนโดมิเนียมทั้งหมด
โปรโมชันคอนโดมิเนียม
จองคอนโดมิเนียมออนไลน์
โครงการพร้อมอยู่
ความคืบหน้าโครงการ
บริการหลังการขาย
360 After Sale Service
International Buyer’s Guide
แบรนด์คอนโดมิเนียม ทั้งหมด >
ปีติ
นิช
เฟล็กซี่
เจ คอนโด
เสนาคิทท์
เสนา อีโค ทาวน์
เดอะ คิทท์ พลัส
เดอะ คิทท์
โคซี่
บ้านร่วมทางฝัน
บ้าน
1775
บ้านทั้งหมด
โปรโมชันบ้าน
จองบ้านออนไลน์
โครงการพร้อมอยู่
ความคืบหน้าโครงการ
บริการหลังการขาย
360 After Sale Service
แบรนด์บ้าน ทั้งหมด >
เสนา พาร์ค แกรนด์
เสนา แกรนด์ โฮม
เสนา พาร์ค วิลล์
เสนา วิลล์
เสนา วิลเลจ
พัทยา วิลล่า เลค แอนด์ พาร์ค
เสนา วีว่า
ทาวน์โฮม
1775
ทาวน์โฮมทั้งหมด
โปรโมชันทาวน์โฮม
จองทาวน์โฮมออนไลน์
โครงการพร้อมอยู่
ความคืบหน้าโครงการ
บริการหลังการขาย
SENA 360 Application
แบรนด์ทาวน์โฮม ทั้งหมด >
เสนา วิลล์ (ทาวน์โฮม)
เสนา วิลเลจ
เสนา เวล่า
เสนา วีว่า
เสนา อเวนิว
เจ แกรนด์
เจ ทาวน์ เอ๊กซ์คลูซีฟ
บ้านบูรพา พราวทาวน์
อาคารพาณิชย์
1775
อาคารพาณิชย์ทั้งหมด
โปรโมชันอาคารพาณิชย์
จองอาคารพาณิชย์ออนไลน์
โครงการพร้อมอยู่
ความคืบหน้าโครงการ
บริการหลังการขาย
SENA 360 Application
แบรนด์อาคารพาณิชย์ ทั้งหมด >
เสนา วีว่า
เสนา อเวนิว
เสนา ช็อปเฮ้าส์
โปรโมชัน
แบรนด์เสนา
1775
แบรนด์เสนา
MADE FROM HER
SENA Solar
geo fit+
เกี่ยวกับเสนา
โครงสร้างองค์กร
เสนาเพื่อสังคม
SENA FAMILY
SENA CLUB
SENA Privileges
SENA HANKYU HANSHIN OWNERS CLUB
ธุรกิจในเครือ
เสนา โซลาร์ เอนเนอร์ยี่
เสนาเฮ้าส์ พหลโยธิน 30
สนามกอล์ฟ พัทยา คันทรี คลับ
เสนาเฟสท์
เงินสดใจดี
เมโทรบ็อกซ์
LivNex
ข่าวสารกิจกรรม
บทความ
พันธมิตร
นักลงทุนสัมพันธ์
ร่วมงานกับเสนา
ติดต่อเรา
ลงทะเบียนคู่ค้ารายใหม่
ความยั่งยืน
TH
TH
EN
简体
繁體
เข้าสู่ระบบ
บทความ
อนาคตร้านหนังสือ
04 พ.ย. 2565
992
Views
3
Shares
ก่อนอื่นต้องขอกล่าวสวัสดีปีใหม่กับคุณผู้อ่านทุกท่านค่ะ ขอให้คุณผู้อ่านทุกท่านพบเจอแต่สิ่งดีๆในปีนี้และมีพลังฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆไปได้ด้วยดีค่ะ แม้จะเป็นช่วงหยุดยาวดิฉันก็มีโอกาสไปต่างประเทศและมีเรื่องดีๆมาร่วมแบ่งปันกับคุณผู้อ่านเช่นเคยค่ะ
ช่วงหยุดปีใหม่ที่ผ่านมาดิฉันมีโอกาสได้ไปที่ฮ่องกง และทุกครั้งที่ไปที่นั่นก็ต้องแวะที่ร้านหนังสือชื่อดังอย่าง Page One ซึ่งจำหน่ายหนังสือดีๆมากมายและอุปกรณ์เครื่องเขียนด้วย แต่ที่ต้องแปลกใจในปีนี้ก็คือ ในปีนี้ไม่ได้เจอร้าน Page One แล้ว จากการสอบถามคนในพื้นที่ก็ทราบว่าร้านนี้ได้ออกจากฮ่องกงไปหมดแล้ว หากเราดูแนวโน้มที่เกิดขึ้นทั่วโลกจะเห็นว่า ร้าน Page One เองก็ไม่สามารถต้านทานกระแสการเข้ามาของโลกดิจิตอลที่กำลังคุกคามร้านหนังสือดั้งเดิมได้ ผู้อ่านในยุคนี้หันไปเสพ content ในแบบออนไลน์มากขึ้น ขณะเดียวกันการเข้ามาของยักษ์ใหญ่อย่าง Amazon ก็ทำให้ผู้คนมีทางเลือกในการซื้อหนังสือได้มากขึ้นทั้งการสั่งเล่มจริงผ่านหน้าร้านของ Amazon หรือดาวน์โหลด e-book ผ่านเว็บได้เลย
ขณะเดียวกัน พฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคนี้ก็เปลี่ยนไปด้วยจากแต่เดิมจะเข้าร้านหนังสือเพื่อเลือกดูและซื้อหนังสือที่ตัวเองชอบกลับบ้าน กลายเป็นผู้ซื้อนิยมที่จะเดินร้านหนังสือเพื่อมาดูหนังสือเฉยๆ เมื่อเจอหนังสือที่ตัวเองชอบก็จะไปสั่งซื้อทาง Amazon แทน ผลก็คือ Amazon สามารถขายหนังสือได้โดยที่ไม่ต้องลงทุนหน้าร้านจริง เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ยิ่งส่งผลให้ร้านหนังสือเสียเปรียบในแง่ต้นทุนและช่องทางการจัดจำหน่ายมากขึ้น เราจึงเห็นปรากฏการณ์ร้านหนังสือทยอยปิดตัวลงต่อเนื่องเพราะไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนได้และต้องเผชิญกับยอดขายที่ลดลงด้วยในระยะยาว
อย่างไรก็ตามดิฉันไม่เชื่อว่าร้านหนังสือจะล้มหายตายจากจนไม่มีเหลือเลย ทั้งนี้เนื่องจากคนในรุ่นตั้งแต่ Gen X ขึ้นไปยังคงชื่นชอบที่จะอ่านหนังสือเป็นเล่มจริงอยู่ คนรุ่นนี้ยังคุ้นชินกับการเติบโตมากับการอ่านหนังสือที่เป็นเล่มและมีรสนิยมในการหาอ่านงานเขียนที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของตัวเอง ต่างจากคนรุ่นใหม่ที่โตมากับอินเตอร์เน็ตและนิยมอ่าน content ออนไลน์เป็นหลัก ดังนั้นแล้วในอนาคตธุรกิจร้านหนังสือน่าจะปรับตัวเข้าสู่จุดสมดุลที่ร้านหนังสือจะมีการปรับเปลี่ยนไปหาลูกค้าเฉพาะกลุ่มมากขึ้น แทนที่จะมีการขายหนังสือเพื่อตอบสนองกลุ่มผู้อ่านทุกประเภท หากจุดไหนมีร้านหนังสือมากเกินไปก็จะส่งผลให้ร้านแถบนั้นอยู่ไม่ได้และพากันปิดกิจการลง ร้านที่มีจุดขายที่ชัดเจนและมีกลุ่มลูกค้าที่เหนียวแน่นก็จะกลายเป็นผู้อยู่รอดและเกิดภาวะผูกขาดตามธรรมชาติโดยเจ้าที่อยู่รอดไปเอง
โดยสรุปแล้วพฤติกรรมของผู้คนที่เปลี่ยนจากการเข้าร้านหนังสือเพื่อซื้อหนังสือเล่มมาเป็นการซื้อออนไลน์มากขึ้นส่งผลให้ร้านหนังสือเสียเปรียบช่องทางออนไลน์เช่น Amazon ในระยะยาวจากภาระต้นทุนหน้าร้านที่สูงและยอดขายที่ลดลงต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามร้านหนังสือจะไม่ได้หายไปโดยสมบูรณ์ เพียงแต่จะมีการปรับตัวจากการทำตลาดเพื่อคนทุกกลุ่มมาสู่การเอาใจลูกค้าเฉพาะกลุ่มที่มีความสนใจเฉพาะด้านและยังชอบสะสมตัวเล่มอยู่ โดยลูกค้าที่ยังชื่นชอบสะสมตัวเล่มจะเป็นคนรุ่นเก่าตั้งแต่ Gen X ขึ้นไป ทำให้อนาคตเราจะเห็นร้านหนังสืออยู่แบบเฉพาะที่เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ มากกว่าอยู่ในจุดที่เข้าถึงคนกลุ่มใหญ่เช่นในห้างหรือแถบใจกลางเมืองซึ่งจะมีปัญหาในด้านการใช้เงินลงทุนที่สูงกว่า
รวบรวมเนื้อหาสาระ ส่งมอบความสุข ความบันเทิง ให้เพลิดเพลินไปกับการอ่าน
Facebook:
http://bit.ly/sena_facebook
Youtube:
http://bit.ly/sena_youtube
Drkessara:
http://bit.ly/drkessara
Tags:
ARTICLE EXCLUSIVE
บทความที่เกี่ยวข้อง
พลังงานโซลาร์ หลักคิดจากโรงเรียน
05 พ.ย. 2565
โลกที่เปลี่ยนและชีวิตที่เปลี่ยนไป
05 พ.ย. 2565
กระแสการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค
05 พ.ย. 2565