ค้นหา
คอนโดใกล้รถไฟฟ้า
คอนโดใกล้นิคม
คอนโดพร้อมอยู่
คอนโดไม่เกิน 1 ล้าน
คอนโดมิเนียม
บ้าน
ทาวน์โฮม
อาคารพาณิชย์
โปรโมชัน
แบรนด์เสนา
ความยั่งยืน
โครงการพร้อมอยู่
โครงการทั้งหมด
ความคืบหน้าโครงการ
โปรโมชัน
จองยูนิตออนไลน์
บริการหลังการขาย
SENA 360 Application
แบรนด์เสนา
MADE FROM HER
SENA Solar
geo fit+
เกี่ยวกับเสนา
โครงสร้างองค์กร
เสนาเพื่อสังคม
SENA FAMILY
SENA CLUB
SENA Privileges
SENA HANKYU HANSHIN OWNERS CLUB
ธุรกิจในเครือ
เสนา โซลาร์ เอนเนอร์ยี่
เสนาเฮ้าส์ พหลโยธิน 30
สนามกอล์ฟ พัทยา คันทรี คลับ
เสนาเฟสท์
เงินสดใจดี
เมโทรบ็อกซ์
LivNex
ข่าวสารกิจกรรม
บทความ
พันธมิตร
นักลงทุนสัมพันธ์
ร่วมงานกับเสนา
ติดต่อเรา
MADE FROM HER
#คิดละเอียดกว่าก็อยู่สบายกว่า
คอนโดมิเนียม
1775
คอนโดมิเนียมทั้งหมด
โปรโมชันคอนโดมิเนียม
จองคอนโดมิเนียมออนไลน์
โครงการพร้อมอยู่
ความคืบหน้าโครงการ
บริการหลังการขาย
360 After Sale Service
International Buyer’s Guide
แบรนด์คอนโดมิเนียม ทั้งหมด >
ปีติ
นิช
เฟล็กซี่
เจ คอนโด
เสนาคิทท์
เสนา อีโค ทาวน์
เดอะ คิทท์ พลัส
เดอะ คิทท์
โคซี่
บ้านร่วมทางฝัน
บ้าน
1775
บ้านทั้งหมด
โปรโมชันบ้าน
จองบ้านออนไลน์
โครงการพร้อมอยู่
ความคืบหน้าโครงการ
บริการหลังการขาย
360 After Sale Service
แบรนด์บ้าน ทั้งหมด >
เสนา พาร์ค แกรนด์
เสนา แกรนด์ โฮม
เสนา พาร์ค วิลล์
เสนา วิลล์
เสนา วิลเลจ
พัทยา วิลล่า เลค แอนด์ พาร์ค
เสนา วีว่า
ทาวน์โฮม
1775
ทาวน์โฮมทั้งหมด
โปรโมชันทาวน์โฮม
จองทาวน์โฮมออนไลน์
โครงการพร้อมอยู่
ความคืบหน้าโครงการ
บริการหลังการขาย
SENA 360 Application
แบรนด์ทาวน์โฮม ทั้งหมด >
เสนา วิลล์ (ทาวน์โฮม)
เสนา วิลเลจ
เสนา เวล่า
เสนา วีว่า
เสนา อเวนิว
เจ แกรนด์
เจ ทาวน์ เอ๊กซ์คลูซีฟ
บ้านบูรพา พราวทาวน์
อาคารพาณิชย์
1775
อาคารพาณิชย์ทั้งหมด
โปรโมชันอาคารพาณิชย์
จองอาคารพาณิชย์ออนไลน์
โครงการพร้อมอยู่
ความคืบหน้าโครงการ
บริการหลังการขาย
SENA 360 Application
แบรนด์อาคารพาณิชย์ ทั้งหมด >
เสนา วีว่า
เสนา อเวนิว
เสนา ช็อปเฮ้าส์
โปรโมชัน
แบรนด์เสนา
1775
แบรนด์เสนา
MADE FROM HER
SENA Solar
geo fit+
เกี่ยวกับเสนา
โครงสร้างองค์กร
เสนาเพื่อสังคม
SENA FAMILY
SENA CLUB
SENA Privileges
SENA HANKYU HANSHIN OWNERS CLUB
ธุรกิจในเครือ
เสนา โซลาร์ เอนเนอร์ยี่
เสนาเฮ้าส์ พหลโยธิน 30
สนามกอล์ฟ พัทยา คันทรี คลับ
เสนาเฟสท์
เงินสดใจดี
เมโทรบ็อกซ์
LivNex
ข่าวสารกิจกรรม
บทความ
พันธมิตร
นักลงทุนสัมพันธ์
ร่วมงานกับเสนา
ติดต่อเรา
ลงทะเบียนคู่ค้ารายใหม่
ความยั่งยืน
TH
TH
EN
简体
繁體
เข้าสู่ระบบ
บทความ
แนวนโยบายด้านที่อยู่อาศัย
05 พ.ย. 2565
2214
Views
5
Shares
ที่อยู่อาศัยเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดสำหรับการดำรงชีวิตของคนทุกชาติทุกภาษา เป็นพื้นฐานของการดำรงความเป็นครอบครัวหรือครัวเรือน ประเทศไทยมีประวัติศาสตร์มายาวนานและคนไทยมีการตั้งถิ่นฐานและชุมชนมาแต่โบราณกาล ปัจจุบันเรามีประชากรประมาณ 68 ล้านคน และมีจำนวนครัวเรือนรวมกันประมาณ 21.9 ล้านครัวเรือน มีประชากรหลากหลายชาติพันธุ์มาร่วมกันอาศัยอยู่ โดยเฉพาะในระยะหลังมีชาวต่างชาติอื่นๆมาร่วมอยู่อาศัยในสังคมไทยด้วยมากขึ้น เพราะการเปิดประเทศรับการค้าเสรีมากขึ้นเรื่อยๆ
รัฐบาลในประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งหลายจึงมีการจัดตั้งองค์กร หน่วยงาน ประเภทต่างๆ ขึ้นมา ทำหน้าที่สนับสนุนส่งเสริมการมีที่อยู่อาศัยของพลเมือง นอกจากภาครัฐแล้ว ยังมีองค์กรในภาคประชาชน ทั้งผู้ประกอบการ ผู้บริโภค และภาคการศึกษา ให้ความสนใจประเด็นต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัย ในแง่นโยบายนั้นก็มีหลายประเทศที่พยายามดำเนินการจัดทำนโยบายด้านที่อยู่อาศัยที่เป็นแผนแม่บทรวม เพื่อให้การดำเนินการด้านที่อยู่อาศัยเป็นไปโดยมีทิศทางที่ชัดเจนและเป็นประโยชน์ต่อประเทศโดยรวม
ในประเทศไทยก็มีความพยายามมานานหลายปีแล้ว ในการจัดให้มีนโยบายที่อยู่อาศัยแห่งชาติขึ้น มีการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายที่อยู่อาศัยแห่งชาติขึ้นมาหลายปีแล้ว ประเด็นและข้อพิจารณาซึ่งเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่อาศัยนั้นมีมากมาย ไม่ว่าจะแตะประเด็นทางเศรษฐกิจและสังคมเรื่องใดก็อาจกลายเป็นประเด็นเกี่ยวพันกับเรื่องที่อยู่อาศัยได้แทบทั้งสิ้น เราจึงควรจำแนกประเด็นที่อยู่อาศัยโดยตรงก่อนว่ามีมิติด้านใดบ้าง และมีประเด็นแยกย่อยอย่างไร ดังนี้
มิติด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัย
ปรัชญาการพัฒนาที่อยู่อาศัยของประเทศต้องมุ่งไปสู่การทำให้ประชาชนทุกคนมีสิ่งปลูกสร้างสำหรับอยู่อาศัย และใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ อย่างพอเพียงตามควรแก่อัตภาพ หรือตามความสามารถในการบำรุงรักษา หรือตามความสามารถในการชำระค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวพันกับการอยู่อาศัยนั้น และมีความเป็น “เจ้าของ” ที่อยู่อาศัย โดยอาจเป็นเจ้าของที่มีกรรมสิทธิ์สมบูรณ์ หรือเป็นเจ้าของที่มีกรรมสิทธิ์ในการเช่าระยะยาว หรือระยะสั้น หรือเป็นเจ้าของโดยได้รับสวัสดิการดูแลจากหน่วยงานภาครัฐ
ที่อยู่อาศัยเพื่อการซื้อขาย ได้แก่ ที่อยู่อาศัยทั่วไปที่อยู่ในแนวราบ เป็นบ้านพร้อมที่ดิน หรือที่อยู่อาศัยในแนวสูงเป็นห้องชุดคอนโดมิเนียมซึ่งมีทรัพย์ส่วนกลางที่ผู้อยู่อาศัยต้องใช้ร่วมกัน
ที่อยู่อาศัยเพื่อการเช่าระยะยาว เช่น สิทธิการเช่าระยะยาวของชาวต่างชาติ ซึ่งโดยปกติไม่สามารถมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินในประเทศไทยได้ เว้นแต่สามารถดำเนินการได้ตามเงื่อนไขอื่น หรือสิทธิการเช่าพื้นที่ซึ่งเป็นทรัพย์สินของทางราชการ ซึ่งเน้นที่อยู่อาศัยประเภทแนวสูงเป็นส่วนใหญ่ หรือที่อยู่อาศัยแนวราบในพื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว
ที่อยู่อาศัยเพื่อการเช่าระยะสั้น เช่น การเช่าหอพัก อพาร์ตเม้นต์ เซอร์วิสอพาร์ตเม้นต์ ฯลฯ ซึ่งมีหนาแน่นในพื้นที่ใกล้สถาบันการศึกษา หรือใกล้โรงงานอุตสาหกรรม
ที่อยู่อาศัยเพื่อการสังคมสงเคราะห์ เช่น สถานสงเคราะห์หรือบ้านพักเพื่อคนชรา เพื่อเด็กอ่อน เพื่อเด็กกำพร้า เพื่อคนจรจัดไร้ที่พึ่ง หรือเพื่อผู้ด้อยโอกาสอื่นๆ ซึ่งรัฐพึงยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือตามหลักสวัสดิการนิยม เพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมมีความเป็นปกติสุข
ที่อยู่อาศัยหลากหลายประเภทเหล่านี้ต่างต้องมีการกำหนดแนวทางเฉพาะในการพัฒนา โดยเมื่อนำมาผสานกันแล้วควรให้สอดคล้องกัน อนึ่ง การพัฒนาที่อยู่อาศัยยังอาจมองได้จากมิติด้านภูมิศาสตร์ เช่น การพัฒนาเมืองหลวง และพื้นที่ในเขตปริมณฑล การพัฒนาเมืองบริวาร หรือเมืองใหญ่ประจำภูมิภาค เพราะการที่ประเทศไทยมีเมืองระดับ First-Tier โดดๆ เพียงเมืองเดียว ทำให้การพัฒนาในปัจจุบันเป็นการพัฒนาขยายตัวเมืองกรุงเทพฯออกไปสู่ปริมณฑลตลอดเวลา ไม่มีการพัฒนาเมืองระดับใกล้เคียง หรือเมืองระดับ Second-Tier ให้มีแหล่งงานเพียงพอ ทำให้แรงงานชนบทต้องอพยพเข้าสู่กรุงเทพฯ เป็นหลัก ก่อให้เกิดปัญหาและความจำเป็นในการจัดหาที่อยู่อาศัยเพื่อการเช่า หรือที่อยู่อาศัยเพื่อการซื้อขายราคาต่ำ
มิติด้านกฎหมายและระเบียบปฏิบัติ
ได้แก่ ประเด็นกฎหมายและระเบียบปฏิบัติด้านการจัดสร้างที่อยู่อาศัย ด้านการอยู่อาศัย ด้านการปกครองชุมชนที่อยู่อาศัย ด้านสิ่งแวดล้อม ฯลฯ นโยบายด้านที่อยู่อาศัยที่ดี ไม่ควรกำหนดให้มีการออกกฎหมายเพิ่มเติมอีกมากมาย แต่ควรเน้นให้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎกระทรวง ประกาศ และระเบียบปฏิบัติต่างๆ ที่มีอยู่แล้ว ให้มีความสอดคล้องและเป็นไปได้ในทางปฏิบัติตามภาวะของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งเรื่องการควบคุมอนุรักษ์ทรัพยากร และการควบคุมจำกัดหรือกำจัดภาวะสิ่งแวดล้อมเป็นพิษอันเกิดจากการก่อสร้างที่อยู่อาศัย การชำระหรือจัดหมวดหมู่ประมวลกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัยทั้งมวล เช่น กฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดสรรที่ดิน การขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร สิ่งแวดล้อมและมลภาวะ การกำจัดสิ่งปฏิกูล นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรืออาคารชุด การผังเมือง ฯลฯ การจัดวางผังเมืองของจังหวัดใหญ่จะต้องดำเนินไปโดยสอดคล้องกับผังเมืองของจังหวัดอื่นๆที่อยู่ใกล้เคียง จะเห็นได้ว่าในหลายประเทศที่พัฒนาแล้วในเอเชียตะวันออก เริ่มมีการสร้างเมืองใหม่ที่สามารถรองรับและใช้ประโยชน์จากสังคมสารสนเทศสมัยใหม่ได้ครบถ้วน
ข้อสำคัญอีกประการหนึ่ง คือการกำจัดระเบียบวิธีต่างๆที่ซ้ำซ้อนหรือขั้นตอนที่ไม่จำเป็นในการขออนุญาตเกี่ยวกับการก่อสร้างที่อยู่อาศัยของประชาชน หรือให้ดำเนินการโดยเปิดเผยโปร่งใสเพื่อกำจัดปัญหาการทุจริตเรียกรับค่าตอบแทนที่ผิดกฎหมาย
มิติด้านการเงินเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
มีประเด็นที่พึงพิจารณา เช่น การกำหนดให้ภาครัฐจัดหาแหล่งกู้เงินระยะยาวสำหรับสถาบันการเงิน สำหรับนำไปปล่อยให้แก่ผู้ประกอบการเพื่อสร้างที่อยู่อาศัย และปล่อยกู้ให้ผู้บริโภคเพื่อการซื้อหรือเช่าที่อยู่อาศัย โดยให้เงินทุนที่ไหลเข้าและไหลออกจากสถาบันการเงินเพื่อการนี้ มีลักษณะสอดคล้องกันตามเงื่อนระยะเวลาและวัตถุประสงค์การใช้
ขณะเดียวกัน เราได้เห็นตัวอย่างจากข้อบกพร่องบางประการของระบบการเงิน และนวัตกรรมการเงินในตะวันตกที่นำไปสู่การเกิดปัญหาในโครงสร้างการซื้อขายที่อยู่อาศัย เพราะในสังคมเศรษฐกิจสมัยใหม่มีการใช้ที่อยู่อาศัยเป็นสินทรัพย์เพื่อการลงทุนประเภทหนึ่ง จึงควรมีการกำหนดระเบียบกฎเกณฑ์ที่เหมาะสม ในการสนับสนุนส่งเสริมการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองตามอัตภาพและตามความจำเป็น ยับยั้งหรือไม่ส่งเสริมให้เกิดการเก็งกำไรจนเกินควรในตลาดการซื้อขายที่อยู่อาศัย โดยกำหนดเงื่อนไขการส่งเสริมการซื้อขายที่แตกต่างกัน ระหว่างที่อยู่อาศัยที่มีระดับราคาต่างกันมาก หรือที่มีกลุ่มประเภทผู้ซื้อต่างกัน
นโยบายที่อยู่อาศัยแห่งชาติ ควรส่งเสริมให้มีแหล่งข้อมูลสำหรับการตัดสินใจที่เพียงพอ โดยไม่มองเพียงแค่ว่าหน่วยงานใดมีข้อมูลเพียงพอหรือไม่ เพราะเรายังขาดการสนับสนุนส่งเสริมในด้านปัจจัยการผลิตข้อมูล การสร้างฐานข้อมูล ซึ่งต้องมีผู้ที่เข้าใจหลักการรวบรวม จัดเก็บ จัดทำ ประมวลผลข้อมูล และการนำข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ข้อมูลที่อยู่อาศัยในตัวของมันเองไม่ใช่สินค้าสำเร็จรูปสำหรับนำไปแก้ปัญหาได้ทุกเรื่อง แต่การที่เราสามารถระบุปัญหาที่ต้องแก้ไขจะนำไปสู่แนวทางในการจัดทำและกระบวนการผลิตข้อมูลที่ถูกต้องต่อไป
SENA RESEARCH by คุณสัมมา คีตสิน
กรรมการอิสระ บมจ. เสนาดีเวลลอปเม้นท์
บทความที่เกี่ยวข้อง
Work From Home ยังไง ค่าไฟไม่กระฉูด
05 พ.ย. 2565
ที่อยู่อาศัยสำหรับชาวต่างชาติ
05 พ.ย. 2565
กฎหมายคอนโดมิเนียม
05 พ.ย. 2565